ภาวะร่างกายดื้อต่ออินซูลิน คืออะไร มีวิธีการป้องกันได้อย่างไรบ้าง แนวทางในการรักษาทำอย่างไร

หลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่าอินซูลินคืออะไร ซึ่งโรคเรื้อรังยอดนิยมอย่างเบาหวาน ล้วนมีความสัมพันธ์อย่างมากกับอินซูลิน และวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภาวะร่างกายดื้ออินซูลินกัน ว่าภาวะนี้คืออะไร มีความรุนแรงอย่างไร มีวิธีป้องกันและมีแนวทางในการรักษาได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลย

ภาวะร่างกายดื้อต่ออินซูลิน คืออะไร

ภาวะดื้อต่ออินซูลิน คืออะไร

ภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือ Insulin resistance คือ ภาวะที่ร่างกายหยุดตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเมื่อร่างกายขาดการทำงานของฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ภาวะดื้อต่ออินซูลินนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึม ทำให้การเผาผลาญของร่างกายบกพร่อง ส่งผลต่อเนื่องจนไปทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่2 และโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมาได้ในอนาคต

แนวทางการป้องกันและวิธีรักษาภาวะร่างกายดื้อต่ออินซูลิน

สำหรับวิธีรักษา และแนวทางในการป้องกันภาวะดังกล่าว สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1.กินอาหารที่มีประโยชน์ และควบคุมอาหารที่กินในแต่ละวัน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร ถือเป็นทางเลือกแรกๆ ที่แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้เริ่มปฏิบัติในกลุ่มผู้ที่ตรวจแล้วพบว่ามีภาวะดื้ออินซูลิน เพราะสาเหตุหลักของการเกิดภาวะนี้มาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ทั้งของหวาน การกินอาหารเกินความจำเป็นของร่างกาย ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินความจำเป็นและอินซูลินที่ทำหน้าที่เก็บสะสมน้ำตาลก็ทำงานหนักมากเกินไป

จนเกิดภาวะดื้อดังกล่าว ดังนั้น การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุควรเริ่มจากการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงของหวานหรืออาหารที่มีรสหวาน รวมไปถึงลดปริมาณอาหารประเภทแป้งลง เพื่อช่วยลดน้ำตาลและยังสามารถช่วยลดน้ำหนักตัวเพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้อีกด้วย

2.ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยร่างกายในการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดให้ลดลง โดยจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอยังช่วยลดน้ำหนัก ควบคุมความดันโลหิต ควบคุมระบบไขมันและทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี

วิธีการออกกำลังกายที่ช่วยในการเผาผลาญ คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ เต้น หรือการเล่นกีฬาต่างๆ ต่อเนื่องนาน 30 นาที อย่างน้อย 3-5 วัน/สัปดาห์ ซึ่งการออกกำลังกายประเภทนี้จะช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ในกลุ่มผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ออกกำลังกายหลังจากกินอาหารไปแล้ว 15 นาที เพื่อช่วยให้อินซูลินสามารถดึงน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดออกมาใช้ได้

3.ไม่สูบบุหรี่

บุหรี่ถือว่าเป็นอีกสิ่งที่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิดโรคเรื้อรังได้ ดังนั้น หากอยากมีสุขภาพดี ควรหลีกเลี่ยงและเลิกสูบบุหรี่ให้ได้

แนวทางการป้องกันและเกร็ดความรู้ที่รวบรวมมานี้ล้วนมีประโยชน์อย่างมาก ดังนั้น สำหรับผู้ที่สนใจอยากดูแลสุขภาพ การกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่จะตามมาในอนาคต