เกล็ดเลือดต่ำ เกิดจากอะไร มีวิธีการป้องกันอย่างไร อาหารชนิดไหนช่วยเสริมเกล็ดเลือดบ้าง

เลือด คือส่วนประกอบสำคัญภายในร่างกายที่จะทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารเพื่อส่งไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยภายในเลือดนั้นจะประกอบไปด้วยเกล็ดเลือดจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยทำให้เลือดมีความแข็งแรงและทำให้กระบวนการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผลต่างให้หยุดไหลอย่างเป็นปกติ แต่มีหลายคนที่ตรวจพบว่าตนเองมีอาการเกล็ดเลือดต่ำ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าเกล็ดเลือดต่ำนั้นเกิดจากอะไรและมีวิธีการป้องกันอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดอาการนี้

เกล็ดเลือดต่ำ เกิดจากอะไร มีวิธีการป้องกันอย่างไร

อาการเกล็ดเลือดต่ำเกิดจากอะไร

เกล็ดเลือดต่ำ หรือ Thrombocytopenia คืออาการที่เกิดจากภาวะเกล็ดเลือดต่ำลง ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า 150,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเกล็ดเลือดต่ำนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆดูจะเป็นในเรื่องของระบบการสร้างเกล็ดเลือดที่ไม่เพียงพอ เกล็ดเลือดถูกทำลายจากภูมิต้านทานในร่ากายของตนเอง และเกล็ดเลือดรวมอยู่ที่เดียวมากจนเกินไป นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่นๆอย่าง

  • เสียเลือดบ่อยจากอุบัติเหตุต่างๆผู้ป่วยโลหิตจางหรือโรคธาลัสซิเมีย
  • ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสบางชนิดทำให้เกิดการฟักตัวในเกล็ดเลือด
  • ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
  • สิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือรับประทานอาหารที่มีสาพิษเจือปน
  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือร่างกายอ่อนแอ
  • ขาดสารอาหารอย่างธาตุเหล็ก

ลักษณะอาการเกล็ดเลือดต่ำนั้นผู้ป่วยจะพบรอยช้ำหรือจุดแดงจำนวนมากขึ้นตามร่างกายหรือตามเส้นเลือด จะมีเลือดออกง่ายเมื่อเกิดบาดแผลต่างๆและเลือดยังหยุดไหลช้าอีกด้วย หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจจะเกิดอาการเลือดออกจมูกหรือเหงือกและสำหรับสาวๆอาจจะทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

สามารถป้องกันเกล็ดเลือดต่ำได้ด้วยวิธีใด                                    

การที่จะป้องกันอาการเกล็ดเลือดต่ำไม่ให้เกิดขึ้นได้นั้นคือจำเป็นที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดให้มากที่สุด อันดับแรกคือการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลทำให้การสร้างเกล็ดเลือดเป็นไปได้ยาก

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมี เช่น สารกำจัดศัตรูพืช สารหนู หรือเบนซีน (Benzene) เพราะจะเข้าไปชะลอการผลิตเกล็ดเลือดในร่างกาย ทำให้ใครที่ยาอย่างเป็นประจำควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ส่งผลต่อการผลิตหรือการทำงานของเกล็ดเลือด เช่น เแอสไพริน (Aspirin) หรือไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนต่างๆควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับการฉีดวัคซีนเช่น วัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัดเยอรมัน อีสุกอีใส เป็นต้น  เนื่องอาจจะส่งผลกระทบต่อภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้

อาหารชนิดใดบ้างที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเกล็ดเลือดต่ำ

อาหารที่เหมาะที่สุดคืออาหารที่สารอาหารที่ครบถ้วนและมีธาตุเหล็กสูง เช่น ข้าวกล้อง, ไข่ไก่, ธัญพืชต่างๆ, พืชผักใบเขียว, ผลไม้ ได้แก่ แอปเปิล, ส้ม, ฝรั่ง, มะละกอ เป็นต้น, เนื้อปลา, ตับ และเครื่องในสัตว์ จะช่วยบำรุงเกล็ดเลือดของคุณให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น