อาการกระดูกพรุน มีสาเหตุมาจากอะไร อาหารชนิดไหนที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะมีผลต่ออาการนี้

กระดูก คือส่วนประกอบสำคัญของร่างกายที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างหลักของเรา เพื่อให้สามารถเคลื่อนหรือทำอิริยาบถต่างๆได้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันโรคร้ายที่เกี่ยวข้องกระดูกเริ่มเพิ่มจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่หนึ่งในโรคร้ายเกี่ยวกับกระดูกที่น่ากลัวที่สุดก็คือ อาการกระดูกพรุน

อาการกระดูกพรุน มีสาเหตุมาจากอะไร

อาการกระดูกพรุนคืออะไรและส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

กระดูกในร่างกายของเรานั้นประกอบไปด้วยแคลเซียมจำนวนมาก แต่เมื่อแคลเซียมเริ่มเสื่อมสภาพและสลายลงไปจึงทำกระดูกอ่อนแอลงจนให้เกิดอาการกระดูกพรุนขึ้น ซึ่งการสลายของเนื้อกระดูกอย่างต่อเนื่องนี้จะไม่แสดงผลออกมาอย่างชัดเจน แต่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักที่ง่ายขึ้น ปัจจุบันอาการกระดูกพรุนพบได้บ่อยที่บริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก หรือข้อมือ ซึ่งแท้จริงแล้วสามารถเกิดขึ้นได้กับกระดูกส่วนอื่นๆทั่วทั้งร่างกาย

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกระดูกพรุนนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นเพราะเมื่ออายุของคนเราเพิ่มขึ้นสู่หลัก 50 ปี มวลกระดูกของเราจะเสื่อมและบางลงทุก 1-3% ในทุกๆปี นอกจากนั้นคุณผู้หญิงยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการกระดูกพรุนได้มากกว่าคุณผู้ชาย เนื่องจากการสูญเสียฮอร์โมนในเพศหญิงเมื่อหมดประจำเดือน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการกระดูกพรุนถึง 25% เลยทีเดียว

อาหารชนิดใดที่ผู้มีอาการกระดูกพรุนควรหลีกเลี่ยง

ผู้ที่มีอาการกระดูกพรุนจำเป็นที่จะต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด เราจึงอยากจะแนะนำอาหารฃนิดใดที่ผู้มีอาการกระดูกพรุนควรหลีกเลี่ยง

  • หลีกเลี่ยงอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ เนื่องจากการรับโปรตีนมากเกินไปจะทำให้ไตขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากยิ่งขึ้น
  • งดทานอาหารที่มีลดเค็ม เพราะอาหารประเภทนี้มักจะประกอบไปด้วยโซเดียมที่มีผลทำให้ลำไส้ดูดซับแคลเซียมได้ลดน้อยลงนั่นเอง
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้ร่างกายเสียสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัส จึงทำให้ร่างกายจำเป็นต้องสลายแคลเซียมออกจากคลังเนื้อกระดูก เพื่อรักษาสมดุลของแคลเซียมฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอร์และบุหรี่ เนื่องจากแอลกอฮอร์จะไปทำการขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียมในเนื้อกระดูก ทำให้ร่างกายขาดแคลเซียมจนทำให้เกิดอาการกระดูกพรุนได้ง่ายยิ่งขึ้น