5 อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง มีอะไรบ้าง กินเยอะๆอันตรายต่อร่างกายหรือไม่

ธาตุเหล็ก ถือเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายในทุกช่วงวัย เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อขาดแร่ธาตุชนิดนี้จะทำให้ระบบในร่างกายขาดสมดุล ดังนั้น วันนี้เราจึงอยากมาแนะนำกลุ่มอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง พร้อมกับตอบคำถามว่าหากได้รับธาตุเหล็กมากไปจะส่งผลเสียหรือไม่

5 อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง มีอะไรบ้าง

5 ประเภทอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

1.ตับ เลือด และเนื้อแดง กลุ่มอาหารประเภทตับ เลือด หรือเนื้อแดงเป็นกลุ่มที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ที่อยู่ในรูปของสารประกอบฮีม (Heme iron) ที่ร่างกายสามารถดูดซึมและดึงออกไปใช้โดยตรงได้ แนะนำให้ทานอาหารที่มีส่วนประกอบจากตับ เลือดหรือเนื้อแดงเป็นประจำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

2.อาหารทะเล เช่นเดียวกับกลุ่มเนื้อแดง โดยธาตุเหล็กที่ได้จากอาหารกลุ่มนี้จะอยู่ในรูปของสารประกอบฮีม (Heme iron) ทำให้ร่างกายสามารถดึงนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย มีอัตราการดูดซึมสูง และหากยิ่งทานควบคู่ไปกับวิตามินซีก็จะยิ่งทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กที่บริเวณลำไส้เล็กเข้าสู่ร่างกายทำงานได้มีประสิทธาพมากยิ่งขึ้น

3.ธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต ถั่วแดง ถั่วดำ เป็นต้น โดยเหมาะสำหรับผู้ที่อยากหลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ หรือเครื่องใน เพราะกลุ่มอาหารประเภทธัญพืชก็มีธาตุเหล็กปริมาณสูงเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้น หากไม่ชอบทานเนื้อสัตว์ก็สามารถทานธัญพืชทดแทนกันได้

4.ผักใบเขียว ผักใบเขียว อย่างเช่น ปวยเล้ง และบล็อกโคลี่ ก็ถือเป็นแหล่งธาตุเหล็กให้กับร่างกายได้ แต่ธาตุเหล็กจากผักใบเขียวมีข้อกำจัดคือ ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กมาใช้ได้ไม่ดี ทำให้ต้องมีการทานอาหารกลุ่มวิตามินซี เข้าไปเสริมประสิทธิภาพการดูดซึมให้ดียิ่งขึ้น และกลุ่มอาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ฝรั่ง ลิ้นจี่ เงาะ ส้ม มะละกอ สตรอว์เบอร์รี่ และสับปะรด

5.ไข่แดง เป็นประเภทอาหารที่สามารถหาง่ายและทานง่าย ไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่หรือไข่เป็ด ก็ถือเป็นแหล่งธาตุเหล็กจากธรรมชาติที่สำคัญมาก

ร่างกายได้รับธาตุเหล็กมากเกินไป จะส่งผลเสียหรือไม่?

ธาตุเหล็กที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันอยู่ที่ปริมาณ 15 มิลลิกรัม ในเพศหญิงอายุ 15-50 ปี ซึ่งหากร่างกายได้รับธาตุเหล็กในปริมาณมากเกินไปจะไม่ส่งผลต่อร่างกายในทันที แต่จะสะสมอยู่ภายในอวัยวะในร่างกายไปเรื่อยๆ จนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคข้อต่ออักเสบหรืออาจเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ถึงจะมีคุณสมบัติช่วยทำให้ระบบในร่างกายทำหน้าที่ได้อย่างสมดุล แต่หากได้รับในปริมาณที่ไม่เหมาะสมทั้งมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ต่างก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายด้วยกันทั้งสิ้น เพราฉะนั้นหันมารับประทานอย่างพอเหมาะเพื่อเป็นการรักษาสมดุลของร่างกายไปในตัวด้วยจะดีที่สุด